จะเห็นได้ว่าในชีวิตประจําวันของเรานั้น มักจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีสารเคมีเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น เราสามารถจําแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ โดยการจําแนกสารเคมีนั้นใช้เกณฑ์ต่าง ๆ มากมาย วันนี้ มารูโมะ จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก “สารเคมี” ในชีวิตประจำวันที่เราเจอกันว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง? ตามไปดูกันเลยจ้า . . .
สารเคมี คืออะไร?
เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี เช่น
สารประกอบเคมี (chemical compound) | คือ สสารที่ประกอบด้วย ธาตุเคมีตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาผสมกันทางเคมีในอัตราส่วนที่แน่นอน |
ธาตุเคมี | เป็นสสารที่ไม่สามารถแบ่งให้เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากสารเคมีเดิมได้อีก เพราะอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ เรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วย อิเล็กตรอน โคจรรอบจุดศูนย์กลาง ที่เรียกว่า นิวเคลียส ที่ประกอบไปด้วย โปรตอน และนิวตรอน |
โมเลกุล | เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสารประกอบที่ยังมีคุณสมบัติของสารประกอบเดิมนั้นอยู่ |
ไอออน | เป็น อะตอม หรือกลุ่มของอะตอมที่สูญเสียประจุไฟฟ้า เรียกว่า แคตไอออน หรือแอนไอออน อิเล็กตรอน |
ปฏิกิริยาเคมี | เป็นกระบวนการที่สสาร ที่1, 2 หรือมากกว่า (เรียกว่า รีแอกแตนต์) มาผสมรวมกันแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสารตั้งต้น |
เกณฑ์การจําแนก สารเคมี ในชีวิตประจำวันนั้นมีไรบ้าง?
- สารปรุงแต่งอาหาร
- เครื่องดื่ม
- สารทําความสะอาด
- สารกําจัดแมลง และสารกําจัดศัตรูพืช
- เครื่องสําอาง
สารปรุงแต่งอาหาร
หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น หรือเพิ่มรสชาติต่าง ๆ เช่น น้ำตาล เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น

ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู, น้ำปลา, ซีอิ๊ว, ซอสมะเขือเทศ และสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ, น้ำมะนาว, น้ำมะขามเปียก และน้ำอัญชัน เป็นต้น
เครื่องดื่ม
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ใช้สําหรับดื่ม และมักจะมี “น้ำ” เป็นองค์ประกอบหลัก บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบางประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย

ประเภทของเครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด, น้ำผลไม้, นม, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มบํารุงกําลัง, ชา-กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สารทำความสะอาด
หมายถึง สารที่มีคุณสมบัติในการกําจัดความสกปรกต่าง ๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ นั่นเอง

ประเภทของสารทําความสะอาด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ สารที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน, สบู่ก้อน, สบู่เหลว, แชมพูสระผม, ผงซักฟอก, สารทําความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น และสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด, มะขามเปียก, เกลือ เป็นต้น
สารทําความสะอาด เช่น สบู่, แชมพู, น้ำยาล้างจาน, สารทําความสะอาดห้องน้ำ และสารซักฟอก บางชนิดมีคุณสมบัติเป็นกรด บางชนิดเป็นเบส ซึ่งทดสอบได้ด้วยกระดาษลิตมัส และสารทําความสะอาดห้องน้ำบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นกรด สามารถกัดกร่อนหินปูนหรือคราบสกปรกที่เกาะอยู่หลุดลอกออกได้ ถ้าใช้สารชนิดนี้ไปนาน ๆ อาจทำให้พื้นและฝาห้องน้ำจะสึกกร่อนไปด้วย และทําให้ผู้ใช้เกิดความระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจและผิวหนังได้
สารกำจัดแมลง และศัตรูพืช
หมายถึง สารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ป้องกันการกําจัดและควบคุมแมลงต่าง ๆ ไม่ให้มารบกวน มีทั้งชนิดผง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ

ประเภทของสารกําจัดแมลงและสารกําจัดศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สารที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง, สารกําจัดแมลง เป็นต้น และสารได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว, เปลือกมะกรูด, เปลือกส้ม เป็นต้น
เครื่องสำอาง
หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทา ถูนวด โรย พ่น หยอด ใส่อบร่างกายเพื่อใช้ทําความสะอาดเพื่อให้เกิดความสดชื่น ความสวยงาม และเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตัวเอง

ประเภทของเครื่องสําอาง แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
1.) สําหรับผม เช่น แชมพูครีมนวด เจลแต่งผม เป็นต้น
2.) สําหรับร่างกาย เช่น สบู่ครีม และโลชั่นทาผิว ยาทาเล็บ โลออน แป้งฝุ่น เป็นต้น
3.) สําหรับใบหน้า เช่น ครีม โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา
4.) น้ำหอมต่าง ๆ
5.) เบ็ดเตล็ด เช่น ครีมโกนหนวด ผ้าอนามัย ยาสีฟัน เป็นต้น
ส่งท้ายกันสักนิด จะเห็นได้ว่าการนำสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมาใช้ จะต้องศึกษาข้อมูลและวิธีการใช้สารต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนใช้ เพื่อจะได้ใช้สารได้ถูกต้องกับการใช้งานและปลอดภัยต่อผู้ใช้ รวมทั้งปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย
สาร หมายถึง สิ่งที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว มีสมบัติเฉพาะตัว ไม่สามารถแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่น ๆ ที่มีองค์ประกอบและสมบัติต่างไปจากเดิม เช่น อากาศ เกลือ น้ำตาล เป็นต้น
เกณฑ์ในการจำแนกสาร สถานะของสารแบ่งเป็น 3 สถานะ
- ของแข็ง รูปร่างคงที่ อนุภาคเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและอยู่ชิดกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก อนุภาคเคลื่อนที่ไม่เป็นอิสระ
- ของเหลว รูปร่างไม่คงที่เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบและอยู่ไม่ชิดกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มาก อนุภาคเคลื่อนที่ได้ในระยะสั้นๆ
- แก๊ส รูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคอยู่กันอย่างกระจัดกระจายห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย อนุภาคเคลื่อนที่เป็นอิสระ
ลักษณะเนื้อสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
#สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มีเนื้อสารกลมกลืนกันมองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด เช่น น้ำตาล เกลือ เป็นต้น โดยที่สารเนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้
#สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถสังเกตและบอกได้ว่ามีสารองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด สมบัติของสารไม่เหมือนกันหมดทั่วทุกส่วน เช่น น้ำโคลน เป็นต้น
Leave A Comment