อะซิโตน (Acetone) คืออะไร?
คือ ของเหลวที่ระเหยได้ มีกลิ่นคล้ายมิ้นท์ ไม่มีสี แต่สามารถติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดเดือดที่ 56.5 °C จุดหลอมเหลว -95 °C เป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทคีโตนที่ไม่มีองค์ประกอบของกลุ่มฮาโลจีเนตเต็ต (Halogenated) มักใช้ในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นตัวทำลายสารต่าง ๆ และยังสามารถผลิต สกัดได้จากธรรมชาติ และสังเคราะห์ทางเคมีจากปิโตรเลียม

น้ำหนักโมเลกุล (Molecular Weight) : 58.08 กรัม/โมล | จุดเดือด (Boiling Point) : 56.5 °C |
จุดหลอมเหลว (Melting Point) : -95 °C | จุดวาบไฟ (Flash Point) : -20 °C (National Fire Protection Association) |
ความดันไอ (Vapor Pressure) : 180 มิลลิเมตรปรอท (20 °C) | การละลายน้ำ (Solubility) : ละลายน้ำได้ดีที่ 1000 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ที่ 25 °C |
ความหนาแน่น (Density) : 0.791 | ความเข้มข้นที่ทำให้เกิดกลิ่นในอากาศ : 13-20 ppm |
ประโยชน์ของอะซิโตน

1. ในภาคอุตสาหกรรม
มักใช้เป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์ น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น เรซิน Bisphenol A สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีคาร์บอเนต โพลียูรีเทน และเรซิน เป็นต้น
2. ห้องปฏิบัติการ
มักใช้อะซิโตนสำหรับเป็นตัวทำละลายในการเตรียมสารเคมี หรือ ใช้เป็นสารทำละลายสำหรับการสกัดสารอินทรีย์จากพืชหรือสัตว์
3. ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
ได้แก่ ใช้สำหรับการชะล้าง และเป็นสารไล่น้ำ
❝ อะซิโตนละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานอะซิโตนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ และยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น ๆ ❞
ข้อแนะนำและความปลอดภัย
ความเป็นอันตราย
► อะซิโตนจัดเป็นสารอันตรายประเภทที่ 3 ตามประกาศ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย ปี 2535
► ค่า LC50 เท่ากับ 50100 มก./ลบ.ม. (ในหนูที่ 8 ซม.)
► ค่า OSHA-PEL เท่ากับ 2400 มก./ลบ.ม.
การเกิดปฏิกิริยา
► อะซิโตนมีความเสถียรภายใต้สภาวะปกติ
► สารที่เข้ากันไม่ได้ ได้แก่ กรดไนตริกเข้มข้น กรดซัลฟูริก คลอโรฟอร์ม สารประกอบคลอรีน สารออกซิไดซ์ ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ พลาสติก เป็นต้น
► การเกิดปฏิกิริยา และการสลายตัวจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์

การเกิดอัคคีภัย
อะซิโตน จัดเป็นสารไวไฟ มีจุดวาบไฟที่น้อยมากที่ -2 °C และลุกติดไฟได้เองที่ 465 °C ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดการติดไฟ และระเบิดได้ง่ายหากสัมผัสกับความร้อน และเปลวไฟ และเกิดระเบิดได้เองหากส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความไวไฟที่ได้รับความร้อนมากเพียงพอ
อันตรายต่อสุขภาพ

✘ ระบบหายใจ การสูดดม หรือหายใจเอาอะซิโตนเข้าสู่ระบบหายใจ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีอาการไอ แน่นหน้าอก เวียนศรีษะ ปวดหัว
✘ ทางผิวหนัง เมื่อมีการสัมผัสทางผิวหนัง จะทำให้ชั้นไขมันผิวหนังถูกทำลาย ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อน
✘ สัมผัสกับตา เมื่อมีการสัมผัสกับตา จะทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล มีอาการตาแดง และปวดตา
✘ การกลืนกิน การกลืนกินเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ปวดหัว
✘ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงขณะปฏิบัติงาน ควรสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท ผ้าปิดจมูก แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดทุกครั้ง
วิธีการเก็บรักษา
✓ ควรเก็บในภาชนะที่ปิดบรรจุมิดชิด จัดเก็บในบริเวณที่แห้ง เย็น มีการระบายอากาศที่ดี
✓ ควรเก็บในภาชนะที่ทำจากกแก้ว หลีกเลี่ยงการเก็บในภาชนะที่ทำด้วยโลหะ ใยสังเคราะห์ และพลาสติก
✓ ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน แสงแดด เปลวไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้
✓ อุณหภูมิสถานที่เก็บไม่ควรเกิน 30 °C
✓ สถานที่เก็บ ควรถูกต้องตามกฎหมายที่กรมโรงงานกำหนดในเรื่องการจัดเก็บวัตถุอันตราย มีป้ายเตือนอันตราย ป้ายเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ระยะห่างจากแหล่งความร้อน แหล่งเชื้อเพลิง อาคารสามารถป้องกันประกายไฟ เป็นต้น
Leave A Comment