เบนซีน (Benzene)

เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เป็นของเหลวไม่มีสีจนถึงมีสีเหลืองอ่อน ระเหยง่าย ไวไฟ และมีกลิ่นเฉพาะตัว มีกลิ่นเหมือนพวกอะโรมาติก และเบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง จัดเป็นสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ไฮโดรคาร์บอน ในกลุ่ม อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ถูกนำมาใช้ประโยชน์สำหรับเป็นตัวทำละลายที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมผงซักฟอก, พลาสติก, ยาฆ่าแมลง, สีย้อมผ้า, สี และหมึกพิมพ์ เป็นต้น

เบนซีน เป็นของแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า 42 ºF ของเหลวไวไฟ class 1 B ทำปฏิกิริยากับสารออกซิไดซ์อย่างแรง เช่น กรดไนตริกจะเพิ่มการเสี่ยงต่อการเกิดไฟและการระเบิด คุณสมบัติการทำละลายได้ดี ระเหยง่าย ใช้เป็นสารตั้งต้นตันไนการสังเคราะห์สารเคมีชนิดต่าง ๆ

210106-Content-เบนซีน-ใช้ทำอะไร-มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร-02 edit


คุณสมบัติทางเคมี และฟิสิกส์

หัวข้อรายละเอียด
สูตรโมเลกุลC6H6
มวลโมเลกุล78.11
สถานะของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะตัว
จุดเดือด80 องศาเซลเซียส
ชนิดของสารเป็นสารไวไฟ ติดไฟง่าย เมื่อติดไฟจะให้เปลวไฟจะมีควัน และมีเขม่าเล็กน้อย
จุดวาบไฟ11 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่ติดไฟได้เอง6332.5 องศาเซลเซียส
เมื่อสลายตัวทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ และฟอสจีน
ไอระเหยได้กลิ่นความเข้มข้น 1.5 ppm
ละลายน้ำได้ดี1.718 กรัม/ลิตร ที่ 25 องศาเซลเซียส
สารที่เข้ากันไม่ได้สารออกซิไดซ์ต่าง ๆ เช่น ไดเมทิล ซัลฟอกไซด์


เกรดของเบนซีน

  • เบนซีนเกรดดิบ เป็นเบนซีนที่มีสารไฮโดรคาร์บอนอื่นผสมหรือมีสิ่งเจือปนมากกว่า 0.5% มีจุดเดือดในช่วง 80±4 องศาเซลเซียส
  • เบนซีนเกรดบริสุทธิ์ เป็นเบนซีนที่มีสารอื่นเจือปนไม่เกิน 0.5% มีจุดเดือดในช่วง 80±2 องศาเซลเซียส


โครงสร้างโมเลกุล

เบนซีนมีสูตรทางเคมี C6H6 เชื่อมต่อกันด้วยคาร์บอนอะตอมจำนวน 6 ตัว ด้วยพันธะเดี่ยวสลับคู่เป็นวงหกเหลี่ยม

210106-Content-เบนซีน-ใช้ทำอะไร-มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร-03 edit

พันธะระหว่างคาร์บอนอะตอม มีคุณสมบัติคล้ายกับพันธะเดี่ยวทั่วไป แต่เมื่อคำนวณพลังงานพันธะแล้ว พบว่า กลับมีค่าพลังงานพันธะเท่ากับค่าเฉลี่ยของพลังงานพันธะเดี่ยวกับพันธะคู่


การผลิตของเบนซีน

1. การแยกเบนซีนจากกระบวนการเผาถ่านหินในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
2. การแยกเบนซีนจากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียม
3. การสังเคราะห์เบนซีนจากสารตั้งต้นต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์เบนซีนจากโทลูอีนด้วยกระบวนการ โทลูอีน ไฮโดรดีอัลคิเลชัน  (Toluene Hydrodealkylation)

210106-Content-เบนซีน-ใช้ทำอะไร-มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร-04 edit


เบนซีน ใช้อย่างไร

เบนซีน เป็นสารที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง ใช้ผสมในน้ำมันรถยนต์ ใช้ในอุตสาหกรรมทำยาง กาวยาง หนังเทียม พรมน้ำมัน น้ำมันล้างสี น้ำมันผสมกับแซลแลค นํ้ามันชักเงา นํ้ายาล้างโลหะให้สะอาดก่อนชุบ นอกจากนั้นยังมีใช้เป็นสารทำละลายไขมัน หมึก สี พลาสติกและยาง

ประโยชน์ของเบนซีน

1. ใช้ในกระบวนการผลิตเอทิล เบนซีน คูมีน ไซโคลเฮกเซน ไนโตรเบนซีน ดีเทอเจนอัลคีเลท คลอโรเบนซีน และมาลีอิกแอนไฮโดร
2. ใช้เป็นสารทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีหลายอย่าง เช่น สีพ่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์ เป็นต้น


พิษเบนซีน อันตรายต่อสุขภาพแค่ไหน?

210106-Content-เบนซีน-ใช้ทำอะไร-มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร-05 edit


1. พิษเฉียบพลัน

  • มีอาการง่วงเหงาหาวนอน ปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ และทำให้หมดสติได้
  • การสัมผัสของเหลวหรือไอเบนซีที่ความเข้มข้นต่ำจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่ตาหรือผิวหนัง มีอาการหายใจติดขัด เป็นผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน มีอาการบวมพอง ผิวหนังแห้ง และตกสะเก็ด
  • การสูดดมที่ความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง หายใจติดขัด ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
  • หากดื่มเข้าร่างกายทางระบบทางเดินอาหารในปริมาณน้อยจะทำให้วิงเวียนศรีษะ อาเจียน หากได้รับมากจะทำให้เกิดการปวดท้องรุนแรง เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ชัก และทำให้เสียชีวิตได้
  • หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ได้รับที่ความเข้มข้น 7,500 ppm ใน 1 ชั่วโมงครึ่ง หรือ มากกว่า 20,000 ppm ในเวลา 5-10 นาที

2. พิษเรื้อรัง

  • ทำลายไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก จำนวนเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
  • ทำให้เกิดโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และเกิดโรคมะเร็ง
  • ผิวหนังแห้ง เป็นผื่นแดง ตกสะเก็ด
  • ทำให้เกิดโรคประสาทเสื่อม มีอาการง่วงเหงาหาวนอน ปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด นอนไม่หลับ และสมองถูกทำลาย หากได้รับที่ความเข้มข้น 1,500 ppm จะทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ

การสูดดมเบนซีนเข้าปอดอย่างรวดเร็วที่ความเข้มข้น 150-350 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร นาน 2-5 ชั่วโมง จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านปอดอย่างรวดเร็ว บางส่วนถูกขับออกจากร่างกาย บางส่วนสะสมในไขกระดูก ไขมัน และตับ


รู้ไหม? มลภาวะจากเบนซีนในอากาศเกิดจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงน้ำมัน และถ่านหิน การเผาไหม้น้ำมันในเครื่องยนต์ การระเหยจากน้ำมันเบนซีน และพบได้ในควันบุหรี่ 

❝ มาตรฐาน OHSA กล่าวถึงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน คือ ไม่ควรทำงานในสถานที่ที่มีเบนซีนในอากาศเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร นานเกิน 8 ชั่วโมง/วัน หรือ 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ และค่าการเฝ้าระวังไอระเหยในบรรยากาศที่ 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 7.6 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ❞


ฝากให้ระวัง! กลุ่มเสี่ยงต่อโรคพิษของเบนซีน?

ได้แก่ ช่างสี ช่างทำรองเท้า ช่างทำกระเป๋า ผู้ผลิตกาว ผลิตวัสดุที่ผสมใยหิน ถ่านไฟฉาย งานขัดเงา ทำกรดคาร์บอลิค ผลิตสี งานปิโตรเคมี งานตกแต่งพื้นเพื่อพ่นสี และงานอื่น ๆ

210106-Content-เบนซีน-ใช้ทำอะไร-มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร-06 edit


การป้องกันและควบคุมโรคพิษของเบนซีน

1. การนำสารอื่นมาใช้ทดแทนเบนซีน
2. ให้ความรู้แก่ผู้ทำงานหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเบนซีน ควรมีความรู้เกี่ยวกับพิษของเบนซีน และการป้องกัน
3. แหล่งเก็บเบนซีนควรเป็นที่ปลอดภัย มีป้ายบอกชื่อและเตือนภัยชัดเจน
4. มีระบบกำจัดเบนซีนแบบเฉพาะที่หรือที่ถูกต้อง
5. มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น หน้ากากที่ผ่านการรับรอง หรือชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม
6. มีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ได้แก่ การเปลี่ยนชุดปฏิบัติงาน ล้างมือ อาบน้ำ สระผม กรณีทำงานหรือสัมผัสกับเบนซีน
7. การตรวจสุขภาพ เพื่อค้นพบโรคพิษเบนซีนในผู้ทำงานที่สัมผัสกับเบนซีนเป็นประจำ