อย.คืออะไร?

อย. อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration)” เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่ คือ อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์นั่นเอง วันนี้ มารูโมะ จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจอย.ให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย


หน้าที่ของ อย.

มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน และมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้

210202-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย-02 new edit
  1. ดำเนินการตามกฎหมายด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาด และการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  4. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรความรู้ผู้ประกอบการ
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างคุ้มค่าและปลอดภัย
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ โดยมีภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายให้ความร่วมมือมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับอย.ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต, เครื่องมือ, เครื่องจักร, อุปกรณ์ในการผลิต, การควบคุมกระบวนการผลิต, การสุขาภิบาลโรงงานการบำรุงรักษา, การทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต ให้เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ GMP (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารหรือผลิตภัณฑ์นั้นถึงจะได้รับเครื่องหมายอย.เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

210202-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย-03 edit


ความหมายของตัวเลขอย.ทั้ง
13 หลัก

กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึง จังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12

 กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต


กลุ่มที่
3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้

กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้

1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด


กลุ่มที่
5 ประกอบด้วยเลข 4 หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมายอย.ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วน 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีอะไรบ้าง?

210202-Content-เรื่องใกล้ตัว-อย-04 edit

 

ผลิตภัณฑ์อาหารยาเครื่องสำอาง
เครื่องมือแพทย์วัตถุอันตรายวัตถุเสพติดทางการแพทย์


ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีเครื่องหมายอย.
VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมายอย.

เครื่องหมายอย.และเลขที่จดแจ้ง เป็นการบ่งยอกเพียงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้รับอนุญาตจาก อย.ให้ผลิตหรือจำหน่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าอย.เป็นผู้รับรองว่าโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงสรรพคุณและประโยชน์จะใช้แล้วเห็นผลจริง

? ทั้งนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่มีเครื่องหมายอย.กับไม่มีเครื่องหมายอย.ได้ด้วย เพราะว่าผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมายอย.เป็น 2 ประเภท คือ

  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมายอย.หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง
  • ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมายอย.ได้แก่ ยา, เครื่องสำอาง, เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการอย่างละเอียด, เครื่องมือแพทย์ทั่วไป, วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน พื้น ครัวต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

เราสามารถเช็คเครื่องหมายอย.ได้จากเว็บไซต์อย.หรือ กระทรวงสาธารณสุข, ORYOR Smart Application หรือ สายด่วน 1556 ได้ตลอดเวลา


❝ สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะมีเครื่องหมายอย.แล้วก็ตาม ผู้บริโภคเองยังต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพิ่มด้วย ทั้งการแพ้ การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ และการใช้งานให้ถูกวิธีด้วย เพื่อความปลอดภัยของเรา เราต้องรู้จักเช็คเลขที่ อย.หรือเลขที่จดแจ้ง ในสินค้าแต่ละชิ้นที่เราจะซื้อก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ใช้สินค้าปลอมแล้วเกิดปัญหาต่อสุขภาพของเรา หรือส่งเสริมทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าปลอมผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกมาได้ในภายหลัง ❞

ยังมีผลิตภัณฑ์จาก มารูโมะ ที่จดทะเบียนอย.เพื่อความน่าเชื่อถือและปลอดภัยต่อผู้ใช้ทุกคน เลือกซื้อสินค้าได้ตามนี้เลย

1. น้ำส้มควันไม้ ตรา กะหล่ำ

2. น้ำยาขจัดคราบน้ำ น้ำยาเช็ดคราบกระจก

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก มารูโมะ ได้ตามนี้เลย<<


แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์psasupply.com, cordylis.com