ในยุคที่ไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 (COVID-19) กำลังระบาด ทุกคนต่างมองหาอุปกรณ์ที่จะช่วยป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค หนึ่งในนั้นคือ “แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค” แต่แอลกอฮอล์ก็มีหลายแบบ มีความเข้มข้นที่ต่างกัน วันนี้ MARUMO เราจะช่วยให้คุณมั่นใจยิ่งขึ้นในการเลือกใช้แอลกอฮอล์ได้ถูกต้อง และฆ่าเชื้อโรคและโควิด-19 ให้ตายเรียบได้จริง ๆ ไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องมีไว้ใช้งานกันอย่างแน่นอน


ประเภทของ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค ที่ใช้โดยทั่วไปมีกี่ชนิด
?

แอลกอฮอล์ที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) และ ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) แอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียได้ แอลกอฮอล์จัดเป็นสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพแต่ฤทธิ์ในการทำลายเชื้อของแอลกอฮอล์จะลดลงอย่างชัดเจนหากความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 50%

201225-Content-เลือกอย่างไร-แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ-เพื่อจัดการเชื้อโรคและโควิด-19-02 edit


ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์เท่าไรที่เหมาะสมในการฆ่าเชื้อโรค
?

เอทิลแอลกอฮอล์ และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อได้ดีเมื่อมีความเข้มข้น 60-90% โดยปริมาตรในน้ำ (%v/v) และประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อจะลดลงอย่างชัดเจนเมื่อความเข้มข้นต่ำกว่า 50% โดยปริมาตร ซึ่งความเข้มข้นที่มีประสิทธิภาพนั้นมีแอลกอฮอล์และน้ำผสมกันด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม ส่งผลต่อกลไกการออกฤทธิ์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรคได้ จึงทำให้โปรตีนเสียสภาพและทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรคแตก สำหรับเชื้อไวรัส เอทิลแอลกอฮอล์จะสามารถทำลายเชื้อไวรัสแบบที่มีชั้นไขมันหุ้ม เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสเริม รวมถึงไวรัสโควิด-19 และยังสามารถทำลายเชื้อไวรัสแบบที่ไม่มีชั้นไขมันหุ้มได้ด้วย เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไม่ทำลายเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และโปลิโอไวรัส ส่วนไอโซโพรพิลแอลกอฮอร์จะทำลายได้เฉพาะเชื้อไวรัสที่มีชั้นไขมันหุ้มเท่านั้น

โดยพื้นฐานแล้ว แอลกอฮอล์ 90% หรือ 91% เข้มข้นมากเกินไป บางกรณีสารละลายที่เข้มข้นเกินไป จะทำลายที่ภายนอกของเซลล์ หรือเยื่อหุ้มเซลล์ก่อน ถึงจะเข้าไปข้างในและเกิดการฆ่าเชื้อจริง แต่หากเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% นับเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม เพราะน้ำและแอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายเซลล์ทั้งหมด โดยปริมาณน้ำที่มีอยู่จะสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อเข้าไปฆ่าเชื้อได้นั่นเอง


รู้ไหม? แอลกอฮอล์เข้มข้นมาก ไม่ได้ดีเสมอไป

หลายคนอาจจะเข้าใจว่ายิ่งแอลกอฮอล์เข้มข้นเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อย่อมดีขึ้นเท่านั้น เช่น แอลกอฮอล์ 95% ย่อมดีกว่าแอลกอฮอล์ 70% ซึ่งเป็นความเข้าใจที่อาจไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณี เพราะในแอลกอฮอล์ 95% มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูงมาก จึงระเหยได้ไวมากเช่นกัน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรคไม่เพียงพอ ทำได้แค่ทำให้โปรตีนจับตัวเป็นก้อน และทำให้แอลกอฮอล์ไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปทำลายเซลล์ได้ ดังนั้น เชื้อโรคจะไม่ตาย เมื่อสภาพแวดล้อมกลับมาอยู่ในจุดที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต เซลล์เชื้อโรคก็จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง นอกจากนี้ความเข้มข้นสูงของแอลกอฮอล์ยังส่งผลให้ผิวแห้ง และเกิดการระคายเคืองได้

ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อแอลกอฮอล์ ทั้งแบบชนิดเจลและแบบชนิดน้ำ

สิ่งที่ต้องคำนึงรายละเอียดBIC Chemicalผลิตภัณฑ์บางชนิดตามท้องตลาด
มีใบแจ้ง ใบจดทะเบียนในการขายผู้ผลิตมีมาตรฐานในการผลิต สามารถตรวจสอบได้ และรับประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มีไม่แน่ใจ
มีการทดสอบ (COA) รับรองคุณภาพมาตรฐานทุก ๆ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ผลิตตามมาตรฐานตามคุณสมบัติที่จดแจ้งไว้ สามารถตรวจสอบได้จาก COA นี้มีไม่แน่ใจ
สถานที่การผลิตได้มาตรฐานการผลิตในสถานที่ที่ผ่านมาตรฐานการผลิต ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีมาตรฐานระดับสากลPIC/S, GMP, HACCP, ISO9001, FAMIqs, Thailand trusted qualityไม่แน่ใจ

สำหรับแอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์ที่ใช้กันนั้น ความเข้มข้นของแอลกอออล์อยู่ที่ 70%-90% โดยปริมาตร


คำแนะนำดี ๆ ที่อยากบอกต่อ เลือกซื้อเจลล้างมือแอลกอฮอล์แบบไหนถึงจะฆ่าเชื้อโรคได้

1. ควรเช็คข้อมูลส่วนผสมของเจลล้างมือ โดยตรวจสอบเลขที่จดแจ้งได้ที่เว็บไซต์ fda.moph.go.th หัวข้อ “ตรวจสอบผลิตภัณฑ์” หรือสายด่วน อย. หมายเลขโทรศัพท์ 1556 ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่ผ่านการจดแจ้งจาก อย. แล้ว มั่นใจได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% โดยปริมาตร และปลอดภัยสามารถใช้ได้ ตลอดจนวิธีใช้ ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ

2. ต้องบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท โดยฝาปิดนั้นจะต้องแข็งแรงแน่นหนาและปิดสนิท เพื่อป้องกันการระเหยของแอลกอฮอล์ เมื่อเปิดใช้จะมีกลิ่นเฉพาะของแอลกอฮอล์และไม่เกิดการแยกชั้น เปลี่ยนสี จับเป็นก้อน หรือตกตะกอน

3. ควรระบุว่าแอลกอฮอล์ที่ใช้ผลิตเจลล้างมือ คือ เอทานอล (ethanol หรือ ethyl alcohol) โดยใช้ชนิด Food Grade หรือ Cosmetic Grade ไม่แนะนำสำหรับเอทานอลชนิด Fuel Grade ที่ใช้ผสมในแก๊สโซฮอล์ 95 หรือ 91 เพราะจะมี เมทานอล ปนเปื้อนตกค้างอยู่มากเกินค่าความปลอดภัย ส่วนเจลต้องมีเอทานอล ความเข้มข้นช่วง 70%-75% เพราะจะฆ่าเชื้อดีที่สุด เพราะไม่ระเหยเร็วทำให้มีเวลาในการกำจัดเชื้อโรค หากแอลกอฮอล์มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่น 95% ก็จะระเหยเร็วเกินไป จนทำให้การออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ไม่ดี หากน้อยกว่า 70% ประสิทธิภาพลดลง ห้ามใช้ เมทานอล (methanol หรือ methyl alcohol ) ซึ่งมีพิษ มักใช้ผสมกับทินเนอร์ ผสมแลคเกอร์ เมทานอลมีพิษที่สามารถดูดซึมได้ทาง ผิวหนัง ลมหายใจ เยื่อบุตา หากสูดดมเข้าไปจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ คออักเสบได้

4. ซื้อจากสถานที่ขายที่น่าเชื้อถือ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยาที่มีเภสัชกรหรือองค์การเภสัชกรรม เพราะจะช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพและควบคุมราคาที่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เลี่ยงความเสี่ยงการถูกหลอกดังนั้นไม่ควรซื้อจากเพจ เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินสตาร์แกรม ไลน์ และเว็บไซต์ที่ไม่แน่ใจ เนื่องจากบางยี่ห้อพบ สารเมทิลแอลกอฮอล์ซึ่งมีความเป็นพิษ

5. ตรวจสอบเนื้อเจลล้างมือแอลกอฮอล์ มีความหนืดพอดี ไม่เหลวเกินไปจนไหลออกจากมือ ไม่เหนียวเหนอะหนะ ใส ไม่แยกชั้น และย้ำว่า ควรลูบให้ทั่วฝ่ามือและนิ้วมือ ทิ้งไว้ 20 – 30 วินาทีซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ เอทานอลมีเวลาเพียงพอในการฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่าวางเจลใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะแอลกอฮอล์ติดไฟง่าย


นอกจากนี้แล้วถ้าต้องการผลิตเจลล้างมือเองก็สามารถทำได้ โดยต้องใช้หลักการและมาตรฐานเดียวกันคือ ปริมาณแอลกอฮอล์ต้องมากกว่า 70% โดยปริมาตร จึงจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายกำหนด และเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดี ช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดีในเวลานี้

201225-Content-เลือกอย่างไร-แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ-เพื่อจัดการเชื้อโรคและโควิด-19-03 edit


เพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคและโรคระบาด นอกจากใช้แอลกอฮอล์แล้ว การกินอาหารปรุงสุกร้อน การใช้ช้อนกลาง การใส่หน้ากาก และการล้างมือ ก็สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรน่าได้เช่น กัน และหากรู้สึกว่าไม่สบายควรรีบไปพบแพทย์ รวมถึงกักตัวเอง 14 วันหากเพิ่งกลับจากประเทศที่มีอัตราเสี่ยงการติดเชื้อสูง