เฮกเซน (Hexane)

เฮกเซนนั้นเป็นของเหลวใส ไม่มีสี จุดเดือดต่ำ เป็นสารที่ผลิตได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบหรือการแยกก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่ถูกนำมาใช้งานสำหรับเป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การสกัดสารอินทรีย์จากสมุนไพร, ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อเป็นตัวทำละลายสี, ใช้ผสมสีหรือกาวในงานเฟอร์นิเจอร์, งานพ่นหรืองานทาสี และงานทากาวรองเท้า สำหรับโรงงานที่ใช้เฮกเซน ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

210118-Content-“เฮกเซน-(Hexane)”-คืออะไร-ประโยชน์และข้อควรระวัง-02 edit


ลักษณะเฉพาะของ “เฮกเซน”

ชื่ออื่นๆNaphtha (petroleum), hydrotreated light, Diproply, Gettysolv-b และhex
สถานะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน
สูตรโมเลกุลC4H14
สูตรโครงสร้างโมเลกุลCH3-CH2-CH2-CH2-CH2-CH3
น้ำหนักโมเลกุล86.1766
จุดหลอมเหลว-100 ถึง -95 องศาเซลเซียส
จุดเดือด69 องศาเซลเซียส
ความถ่วงจำเพาะ0.660
การละลายน้ำ10.5 มก./ลิตร
ดัชนีหักเหแสง1.375
จุดวาบไฟ-27 องศาเซลเซียส
ความไวไฟจัดเป็นวัตถุอันตรายที่เป็นของเหลว และไอระเหยที่มีความไวไฟสูง
สารที่เข้ากันไม่ได้สารออกซิไดซ์, แมกนีเซียมเปอร์คลอเรท, คลอรีน, ฟูลออรีน, พลาสติก


👉 การผลิตเฮกเซน

เฮกเซนสามารถผลิตได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะทำให้เกิดเฮกเซนหลายไอโซเมอร์ และจะเข้าสู่กระบวนการแยกให้ได้ N-Hexane ที่บริสุทธิ์

210118-Content-“เฮกเซน-(Hexane)”-คืออะไร-ประโยชน์และข้อควรระวัง-03 edit


👉 การใช้ประโยชน์ของเฮกเซน

เฮกเซนเป็นสารอินทรีย์ระเหยชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น

  1. การสกัดน้ำมันจากเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย ทานตะวัน เมล็ดข้าวโพด เป็นต้น
  2. ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี สีย้อม หมึกพิมพ์ กาว เป็นต้น
  3. ใช้เป็นตัวทำละลายหรือสกัดสารในสมุนไพรต่าง ๆ

การรับสารของมนุษย์
► ค่า RfDo ของเฮกเซน (Reference dose โดยการกิน) เท่ากับ 6.0 x 10-2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน
►ค่า RfDi ของเฮกเซน (Reference dose โดยการหายใจ) เท่ากับ 5.71 x 10-2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน


👉 เฮกเซน มีความปลอดภัยและอันตรายไหม?

มีการทดสอบความอันตรายของสารเฮกเซน ด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการใช้แบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวของมนุษย์ พบว่าไม่จัดเป็นสารก่อการกลายพันธุ์

ความเป็นพิษของเฮกเซนต่อระบบประสาท คือ อาการแขน-ขาอ่อนแรง และอาจเป็นอัมพาตได้ โดยพบอาการอ่อนแรงที่ขาก่อน และเกิดอาการที่แขนตามมา ร่วมด้วยกับอาการปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ มึนงง หายใจลำบาก มีอาการเบื่ออาหาร มักจะเกิดกับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้สารตัวทำละลายต่าง ๆ เช่น คนงานประกอบรองเท้า คนงานทำสี เป็นต้น

ฤทธิ์ของเฮกเซนที่มีต่อระบบประสาทที่เกิดอาการวิงเวียนศรีษะ เซื่องซึม จะเกิดขึ้นบริเวณ ซีรีเบลลัม (Cerebellum) เกิดการกดระบบควบคุมการหายใจ ร่วมกับการออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีอาการเคลิบเคลิ้ม หากได้รับสารพิษในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทส่วนกลางและ ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของการทรงตัว เดินเซ มีอาการความจำเสื่อม

210118-Content-“เฮกเซน-(Hexane)”-คืออะไร-ประโยชน์และข้อควรระวัง-04 edit


ข้อควรระวัง!

1. เฮกเซนจัดเป็นสารมีพิษ ห้ามรับประทานหรือสูดดม และควรใช้ในสถานที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี
2. สารละลายเฮกเซน และไอระเหยมีความไวไฟสูง ต้องหลีกเลี่ยงความร้อน และประกายไฟขณะใช้งาน
3. เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และทางตา ทำให้เกิดการอักเสบ ระคายเคือง ควรสวมหน้ากากหรือผ้าปิดจมูก สวมถุงมือ รองเท้า และสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดขณะใช้งาน
4. เมื่อสัมผัสกับผิวหนังหรือตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หากมีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์ทันที
5. การสูดดมหรืออยู่ในสถานที่ที่มีไอระเหย จะทำให้เกิดอาการวิงเวียน ร่างกายอ่อนเพลีย แขน-ขาชาได้ ควรรีบออกห่างหรือนำผู้ป่วยออกจากสถานที่ดังกล่าวทันที
6. การกลืนกินจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ แขนขา-ชา ให้รีบปฐมพยาบาลและนำส่งแพทย์ทันที
7. เมื่อใช้เฮกเซนงานเสร็จ ควรปิดฝาให้แน่น
8. ควรเก็บในที่มิดชิด อุณหภูมิระหว่าง 0 – 40 องศาเซลเซียส ห่างจากแสงแดด ปะกายไฟ และแหล่งความร้อนต่าง ๆ รวมถึงสารที่เข้ากันไม่ได้ในข้างต้น


เฮกเซน มีประโยชน์ แต่ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรทำความเข้าใจวิธีการใช้งานให้ถูกต้องกันด้วย เมื่อได้รับผลกระทบควรรีบทำตามคำแนะนำข้างต้นที่กล่าวไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก มารูโมะ ได้ตามนี้เลย<<