แลคเกอร์
(Lacquer)

เป็นสารเคลือบผิววัตถุที่ระเหยไว ประกอบด้วย ไนโตรเซลลูโลส, พลาสติกไซเซอร์, เรซิน เอทิลแอลกอฮอล์ และแบททิล อาซิเตท แลคเกอร์มีทั้งแบบทาและแบบพ่น มีคุณสมบัติหนืดและแห้งไว เมื่อจะใช้งานให้ผสมกับทินเนอร์ เพื่อให้แลคเกอร์แห้งช้าลง และช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการเคลือบผิววัตถุต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานโลหะ งานเคลือบพื้นผิว ปกป้องพื้นผิวและช่วยให้เกิดความเงางาม

แลคเกอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศจีน เป็นผลิตภัณฑ์ของเหลวที่ประกอบด้วยสารหลายชนิด ได้แก่ สารเคลือบ ตัวทำละลาย และสารปรับปรุงคุณภาพ ถูกใช้ประโยชน์อย่างมากสำหรับเคลือบผิววัสดุ โดยเฉพาะในงานแผ่นโลหะ และงานไม้ ทำหน้าที่ทำให้เกิดความเงางาม ช่วยกันน้ำ และทนต่อการกัดกร่อน


องค์ประกอบของ
แลคเกอร์ มีอะไรบ้าง?

210120-Content-แลคเกอร์-คืออะไร-ประโยชน์และพิษต่อร่างกาย!-02 edit


1.) สารเคลือบ (Film Forming)

สารเคลือบถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของแลกเกอร์ สารเคลือบที่สำคัญและนิยมใช้ คือ อนุพันธ์ของเซลลูโลส หรือเรซิน โดยผลิตได้จากการทำปฏิกิริยาของเซลลูโลสกับกรดไนตริก ทำหน้าที่ในการยึดติดกับพื้นผิววัสดุ ทำให้พื้นผิววัสดุเกิดความเงางาม ทนต่อน้ำ และการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ โดยเรซิน แบ่งเป็นหลายชนิด ได้แก่

สารรายละเอียด
Oleoresinous Resin เป็นเรซินที่นิยมใช้เคลือบชั้นแรกของวัสดุก่อนที่จะใช้เรซินชนิดอื่น ๆ เคลือบชั้นที่ 2 นิยมใช้เคลือบชั้นแรกของกระป๋องสำหรับบรรจุเบียร์ น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มบรรจุกระป๋องชนิดต่าง ๆ
Vinyl Resin เป็นเรซินที่ยึดเกาะกับวัสดุได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ทำให้เกิดกลิ่นและรส แต่เมื่อแห้งแล้วจะละลายในตัวทำละลายได้ดี
Organosal Resin เป็นเรซินที่มีความทนทนต่อสารเคมีต่าง ๆ ได้ดี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มีความเงาน้อย นิยมใช้มากในกระป๋องบรรจุอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความเป็นด่างหรือกรด เช่น น้ำผลไม้ และอาหารประเภทผัก เนื้อต่าง ๆ รวมถึงนิยมใช้ผสมกับผงอะลูมิเนียมสำหรับพ่นให้เกิดผิวเป็นสีเงิน
Epoxy-phenolic Resin เป็นเรซินที่นิยมใช้ทั่วไปในกระป๋องบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม มีคุณสมบัติเด่นหลายด้าน เช่น สามารถทนต่อสภาพความเป็นกรดได้สูง เหมาะสำหรับบรรจุอาหารหรือเครื่องดื่มได้ทุกประเภท และสามารถผสมกับสารให้สีต่าง ๆ สำหรับปรับสีของพื้นผิวของวัสดุได้


2.) ตัวทำละลาย (Solvents)

ตัวทำละลายทำหน้าที่ละลายอนุพันธ์ของเซลลูโลสหรือเรซินร่วมกับสารผสมอื่น ๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกันในสภาพของเหลว สารที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ได้แก่ ทินเนอร์ คีโตน อีเทอร์ เอสเทอร์ และแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้จะเป็นทินเนอร์ ทั้งในขั้นเตรียมผลิตภัณฑ์แลคเกอร์ และใช้ทำละลายก่อนใช้งานแลคเกอร์

3.) สารปรับปรุงคุณภาพ

เป็นสารที่เติมแต่งผสมเพื่อทำหน้าที่ปรับคุณสมบัติของแลคเกอร์ ได้แก่

  • โทลูอีนหรือไซลีน เป็นสารที่มีส่วนผสมปริมาณมากที่สุดในแลคเกอร์ หรือเรียกว่า สารเคมีหลัก (Diluents) ใช้ผสมเพื่อทำหน้าที่เจือจางอนุพันธ์ของเซลลูโลส ช่วยให้ความหนืดของแลคเกอร์ลดลง เป็นต้น
  • น้ำมันละหุ่ง ใช้ผสมเพื่อลดความเปราะของเนื้อแลคเกอร์หลังแห้ง เป็นต้น

แลคเกอร์สำหรับงานไม้ตาม มอก. 561 – 2549 แบ่งเป็น 3 ชนิด
1. แลคเกอร์เงา
2. แลคเกอร์กึ่งเงา
3. แลคเกอร์ด้าน

👉 การเคลือบของแลคเกอร์เป็นแบบไหนกัน?

การเคลือบวัสดุต่าง ๆ ด้วยแลคเกอร์ เป็นกระบวนการที่นำแลคเกอร์ในสภาพของเหลวที่ถูกทำละลายด้วยตัวทำละลาย มาพ่นหรือทาเคลือบผิวของวัสดุเพียงรอบเดียวหรือหลายรอบ จากนั้น นำวัสดุไปอบด้วยความร้อนหรือปล่อยให้แห้ง โดยตัวทำละลายจะระเหยออกไปหมดเหลือเพียงแลคเกอร์ในสภาพแห้งที่สามารถยึดเกาะติดบนพื้นผิวของวัสดุไว้ โดยสามารถมองเห็นพื้นผิวของวัสดุได้เหมือนเดิม แต่จะมีความเงางามเพิ่มขึ้น โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เพิ่มความเงาวาวของวัสดุ ทำให้วัสดุแลดูสวยงาม
  2. ป้องกันการเสื่อมสภาพของพื้นผิววัสดุ ทั้งจากความร้อน แสงแดด น้ำ และสารกัดกร่อน
  3. ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างวัสดุกับสารเคมีอื่น ๆ โดยเฉพาะวัสดุประเภทโลหะที่กเดปฏิกิริยาได้ง่าย


การใช้ประโยชน์แลคเกอร์

ประโยชน์ของแลคเกอร์ถูกใช้สำหรับการเคลือบผิววัสดุเป็นหลัก ได้แก่

210120-Content-แลคเกอร์-คืออะไร-ประโยชน์และพิษต่อร่างกาย!-03 edit


งานไม้ และเฟอร์นิเจอร์

แลคเกอร์ นิยมใช้ในงานก่อสร้างประเภทงานไม้ โดยใช้ทาเคลือบผิวไม้ เพื่อเพิ่มความเงางาม ช่วยป้องกันน้ำ ช่วยให้ทนต่อการขีดข่วน รักษาเนื้อไม้ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ป้องกันการเกาะติดของคราบสกปรก และสามารถสะอาดได้ง่าย

งานโลหะ

ใช้เคลือบแผ่นอะลูมิเนียมก่อนนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระป๋องบรรจุน้ำอัดลม กระป๋องบรรจุอาหาร กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ป้องกันการทำปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับโลหะของกระป๋อง และป้องกันการกัดกร่อนโลหะจากสารต่าง ๆ ในอาหาร โดยใช้แลคเกอร์หลายชนิด ได้แก่ โอเลโอเรซิน, ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์, อีพอกซีเรซิน และไวนิล เป็นต้น

งานพลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์

ใช้เคลือบโลหะหรือพลาสติกสำหรับการประกอบหรือการผลิตยานยนต์ ช่วยทำให้ชิ้นส่วนแลดูมันวาว ป้องกันการเกาะจับของน้ำ ฝุ่น ป้องกันรอยขูดขีด และรักษาอายุการใช้งาของชิ้นส่วน

กระดาษ และบรรจุภัณฑ์

ใช้สำหรับเคลือบกระดาษ กล่องกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อรองรับงานพิมพ์ให้มีความคมชัด ช่วยป้องกันน้ำ ป้องกันการเปื่อยยุ่ย และทำให้เกิดความมันวาวของบรรจุภัณฑ์


วิธีการใช้แลคเกอร์

👉 ขั้นตอนการผสมแลคเกอร์กับทินเนอร์

ก่อนใช้แลคเกอร์จะต้องทำละลายแลคเกอร์ก่อน ตัวทำละลายที่นิยมใช้ คือ ทินเนอร์ (Thinner) มีขั้นตอน ดังนี้

1. ผสมแลคเกอร์เงากับทินเนอร์ในภาชนะผสม โดยใช้แลคเกอร์เงา 1 ส่วน และทินเนอร์ 2 ส่วน
2. ใช้ไม้คนส่วนผสมให้เข้ากัน สังเกตได้โดยวิธียกไม้คนขึ้นดู แล้วดูการหยดลงของแลคเกอร์ หากส่วนผสมเข้ากันจะเห็นการหยดตัวเป็นหยดขาดกัน ไม่หยดยืดเป็นเส้นยาว แสดงว่าส่วนผสมทั้งสองเข้ากันดี สามารถนำไปใช้ได้ แต่หากหยดยืดเป็นเส้นยาว แสดงว่าส่วนผสมยังไม่เข้ากันจึงต้องคนต่อจนได้ส่วนผสมที่เข้ากัน
3. ให้ผสมแลคเกอร์ในปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณชิ้นงานที่ต้องใช้ใน 1 วันทำงาน หรือ ผสมในปริมาณที่ต้องใช้ใน 2-4 ช่วงทำงานใน 1 วัน หรือ พอเหมาะกับชิ้นงานขนาดเล็กที่ใช้ในปริมาณไม่มาก ไม่ควรผสมจำนวนมากจนเหลือค้างคืน

👉 ขั้นตอนวิธีการทาแลคเกอร์ในงานไม้

1. ขัดผิวหน้าของไม้ด้วยกระดาษทรายละเอียด แนะนำเป็นกระดาษทรายขัดไม้ เบอร์ 0 ขัดถูไปมาให้ทั่วถึงจนผิวหน้าไม้มีความราบลื่น ไม่มีจุดสะดุดมือถือว่าใช้ได้ จากนั้น ทำความสะอาดผิวหน้าด้วยการใช้ผ้าแห้งเช็ดฝุ่นไม้ให้หมด
2. น้ำแปรงทาจุ่มลงในแลคเกอร์ที่ผสมไว้ จุ่มลงให้เกือบมิดขนแปรง จากนั้น ยกแปรงขึ้นในแนวดิ่ง เริ่มทาแลคเกอร์บริเวณขอบริมซ้าย จุดที่ยื่นสุดบนแผ่นไม้ก่อน (หากถนัดมืออีกข้างจะตรงข้ามกัน)
3. วางขนแปรงให้ราบติดกับพื้นผิว โดยไม่ต้องใช้แรงมือกด จากนั้น ลากแปรงให้ขนทาติดไปกับพื้นผิวไปทางขวามือ (หากถนัดมืออีกข้างจะตรงข้ามกัน) จนสุดขอบด้านขวา จากนั้น เริ่มทาและลากจากจุดบริเวณขอบด้านขวามือไปหาบริเวณขอบด้านซ้ายมือ
4. ทำการลากทาแลคเกอร์ซ้าย-ขวา ไปมาจนสุดขอบแผ่นไม้แล้ว ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 30 นาที
5. เมื่อปล่อยจนแห้งแล้ว ให้นำกระดาษทรายเบอร์ 0 ที่ใช้แล้วจนไม่มีเม็ดทรายเหลืออยู่มาขัดผิวหน้าให้เรียบ และใช้ผ้าแห้งสะอาดเช็ดตาม จากนั้นจึงเริ่มทารอบที่ 2 ตามขั้นตอนในข้อ 3-4 อีกครั้ง หรือหากต้องการรอบที่ 3 หรือมากกว่า ให้ทำตามข้อ 3-5 เป็นรอบๆไป

*** การเคลือบแลคเกอร์ที่ดีตามคำแนะนำตาม มอก. 285 เล่ม 4 แนะนำให้เคลือบแลกเกอร์อย่างน้อย 2 ชั้น และควรให้ได้ความหนาของฟิล์มหลังแห้งช่วง 30-50 ไมโครเมตร โดยให้เว้นระยะห่างระหว่างการเคลือบแต่ละชั้นประมาณ 30 นาที


👉พิษแลกเกอร์
การได้รับพิษจากแลกเกอร์จะไม่ใช่มาจากส่วนของเรซิน แต่จะเกิดพิษต่อร่างกายที่มาจากพิษของตัวทำละลายเป็นหลัก เช่น ตัวทำละลายทินเนอร์ที่มีโทลูอีนเป็นส่วนผสมหลัก หรือ ตัวทำละลายอื่นๆ อาทิ คีโตน อีเทอร์ และเอสเทอร์ เป็นต้น อาจจะส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้หากสูดดมเป็นเวลานานๆ ซึ่งพิษก็จะมีทั้งพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity) และพิษเรื้อรัง (Chronic toxicity)  >>สามารถดูวิธีดับกลิ่น “ทินเนอร์ และ แลคเกอร์” อย่างไรให้ได้ผลตามนี้เลย<<


แลคเกอร์ มีประโยชน์ แต่ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากสัมผัสโดยตรงอาจเกิดการระคายเคือง แสบร้อน หรือทำให้ผิวหนังไหม้ได้ หรือหากสูดดม สารระเหย เข้าไป อาจจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ควรทำความเข้าใจวิธีการใช้งานให้ถูกต้องกันด้วย 

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก มารูโมะ ได้ตามนี้เลย<<