โซดาไฟ
(Sodium hydroxide)

หรือ คอสติกโซดา (Caustic soda) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง ชื่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นของแข็งสีขาว ดูดความชื้นดีมาก ละลายน้ำได้ดี มีลักษณะเป็นเกล็ด หรือเม็ดคล้ายทรายหยาบใส ๆ หรือผงขุ่น ๆ มีคุณสมบัติเป็นด่าง และมีฤทธิ์กัดกร่อน ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ผลิตเยื่อกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมโลหะ อาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ ใช้ในการฟอกย้อม ล้างสีไหม นอกจากนี้ ช่างเจียระไนพลอย ก็ใช้ในขั้นตอนล้างเม็ดพลอยที่เจียระไนเสร็จแล้วอีกด้วย

นอกจากนี้ โซดาไฟ ที่เรารู้จักกันนั้น คือสารเคมีนี้ยังช่วยแก้ปัญหาท่อตัน หรือชำระล้างคราบ ๆ ต่างที่ติดแน่น และใช้ในวงการอุตสาหกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตผ้า โรงงานผลิตสบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น 


โซดาไฟที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น มีกี่ประเภท?

201226-Content-คุณสมบัติ-โซดาไฟ-02 edit


1. โซดาไฟเกล็ด

มีลักษณะเป็นเกล็ด ๆ แท่ง ๆ คล้ายกับสารส้มที่ถูกขูดเป็นเกล็ด มีสีขาว แข็ง และลายน้ำได้ สีคล้ายกับเกลือ โซดาไฟเกล็ดจะมีความเข้มข้น ตั้งแต่ 40-50% จนถึง 99% ปกติการบรรจุโซดาไฟชนิดนี้ จะบรรจุในกระสอบ กระสอบละประมาณ 50 กิโลกรัม

2. โซดาไฟน้ำ

เป็นโซดาไฟที่ถูกนำมาละลายน้ำและเหลือความเข้มข้น ครึ่งหนึ่งเพียง 50% โซดาไฟน้ำจะบรรจุในแกลลอน

3. โซดาไฟไข่มุก

เป็นโซดาไฟเกล็ดที่เป็นก้อนกลม ๆ เล็กขนาดเท่า ๆ กันจนคล้ายกับก้อนไข่มุก ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากไต้หวัน เกรดประมาณ 99% การบรรจุส่วนใหญ่จะบรรจุในกระสอบ 

ซึ่งการเลือกใช้โซดาไฟนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่า อุตสาหกรรมของเราหรืองานที่เราทำนั้นเป็นอุตสาหกรรมประเภทไหนและต้องใช้โซดาไฟที่เข้มข้นประมาณไหนด้วยเช่นกัน 

ตารางแสดง ค่าความหนาแน่นของ โซเดียมโฮดรอกไซด์ และกรดบางชนิด

ความหนาแน่นของสารละลาย Solution densities (g/ml)
% w/wโซเดียมไฮดรอกไซด์
(NaOH)
กรดซัลฟิวริก
(H2SO4)
กรดแอซีติก
(CH3COOH)
กรดไฮโดรคลอริก
(HCI)
แอมโมเนีย
(NH30)
00.99910.99910.99820.99820.9991
11.01061.00540.99871.00320.9948
21.02191.01291.00121.00820.9905
31.03311.01951.00261.01320.9864
41.04431.02661.00411.01810.9822
51.05511.03341.00551.02300.9782
101.11111.06871.01261.04740.9591
151.16551.10481.01951.072509416
201.22191.14301.02611.09800.9253
301.33111.22121.03831.14930.8951
401.43391.30701.04881.1980
501.52901.39891.0575


ประโยชน์โซดาไฟ

โซดาไฟสามารถใช้ในรูปของโซดาไฟก้อน และโซดาไฟเหลว ในด้านต่าง ๆ คือ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโซดาไฟเหลว ดังนี้

201226-Content-คุณสมบัติ-โซดาไฟ-03 edit
  • ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่
  • ใช้สำหรับขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อนหรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ
  • ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
  • ใช้สำหรับการตกตะกอนของแร่ธาตุหรือโลหะหนักในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
  • ใช้ฟื้นสภาพของเรซินของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
  • ใช้ในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟ สำหรับการฟอกไหมในระดับครัวเรือน ชาวบ้านเรียกโซดาไฟว่า ผงมัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีฟอกไหม

 


ข้อควรระวังในการใช้ โซดาไฟ

เนื่องจากโซดาไฟ มีคุณลักษณะของสารเคมี ทำปฏิกิริยาทางเคมี ยิ่งความเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก สามารถทำให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ยได้ในเวลาเสี้ยววินาที จึงควรระมัดระวังระหว่างการใช้งาน ไม่ควรเทโซดาไฟลงท่อระบายน้ำโดยตรงเพราะจะไปกัดกร่อนท่อน้ำเสียหายได้

วิธีใช้ที่ถูกต้อง คือ ควรเทโซดาไฟใส่ในภาชนะแล้วผสมกับน้ำ คนสารละลายให้ละลายหมดก่อนจึงค่อยไปเทใส่ท่อระบายน้ำ ระวังอย่าสูดดมควันจากสารจะทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ถึงจะมีตัวช่วยแก้ปัญหาจากการอุดตันแบบนี้แล้ว แต่ทางที่ดีคุณพ่อบ้านแม่บ้านควรดูแลรักษาทำความสะอาดไม่ให้มีเศษอาหาร เกิดคราบที่เกิดจากงานครัวหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บ้านน่าอยู่น่าอาศัย และไม่เหนื่อยกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ

โซดาไฟ มีฤทธิ์เป็นด่าง สามารถกัดผิวหนังได้ ยิ่งเข้มข้นมากยิ่งมีฤทธิ์มาก อันตรายเฉียบพลัน ถ้าหายใจเข้าไปโดยการสูดดมฝุ่นควันของสารจะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดปอดอักเสบ น้ำท่วมปอดได้ หากเข้าตาจะมีฤทธิ์ทำลายตั้งแต่ระคายเคืองหรือรุนแรงกระทั่งทำให้ตาบอดได้ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้จนเป็นแผลลึก หากรับประทานเข้าไปจะเกิดการไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก อาจมีการพัฒนากลายเป็นมะเร็งในภายหลัง 12-42 ปี หลังจากกินเข้าไป

สำหรับการใช้ในครัวเรือน โซดาไฟสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ จะอยู่ในลักษณะของผง หรือเกล็ด หรือสังเกตุฉลากที่ระบุไว้ว่า เป็นโซเดียมไฮดรอกไซต์ 65% w/w ซึ่งอาจจะบรรจุดอยู่ในซองฟอยล์ ขนาดพอใช้ เช่น ปริมาณ 65 กรัม ซึ่งก็คือ โซดาไฟ นั่นเอง แต่ลดความเข้มข้นลง เพราะได้ใส่ฟิลเตอร์บางชนิด มักจะบรรจุมาไว้อย่างมิดชิด ให้เหมาะแก่การใช้ในครั้งเดียว เพื่อลดปัญหาและลดความเสี่ยงในการจัดการจัดเก็บที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมีได้


การเก็บรักษาโซดาไฟให้ถูกต้องและปลอดภัย พร้อมใช้งาน

ควรเก็บโซดาไฟไว้ในภาชนะพลากติกที่มีความหนา เซรามิก หรือแก้วพร้อมฝาที่ปิดสนิท โดยไม่ควรเก็บโซดาไฟไว้ในจุดที่มีความชื้น เพื่อป้องกันโซดาไฟไม่ให้ทำปฏิกิริยากับความชื้น นอกจากนั้นยังต้องระวังไม่ให้โซดาไฟสัมผัสถูกกรดหรือสารที่ติดไฟอีกด้วย ซึ่งผลกระทบทางร่างกาย เมื่อโดนโซดาไฟ มีดังนี้

► ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

  • หายใจลำบาก
  • ระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณจมูก คอ ระบบทางเดินหายใจ ลำคอ หรือกล่องเสียงบวมซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนหรือภาวะขาดอากาศหายใจได้

► ผลกระทบต่อผิวหนัง

  • แสบร้อนที่ผิวหนัง
  • ผิวหนังระคายเคือง
  • ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงจนเกิดเป็นแผลลึก

► ผลกระทบต่อหู ตา คอ และจมูก

  • ระคายเคืองตา
  • มีแผลที่กระจกตา หรือกระจกตาถูกทำลาย
  • เจ็บคออย่างรุนแรง
  • แสบร้อนในจมูก ตา หู ริมฝีปาก หรือลิ้น

► ผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร

  • อาเจียน โดยอาจมีเลือดปนออกมาได้
  • กลืนลำบากและมีน้ำลายไหล
  • ปาก คอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรง
201226-Content-คุณสมบัติ-โซดาไฟ-04 edit


การปฐมพยาบาลหากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟ

  • หากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟจนมีอาการบาดเจ็บ ควรจะมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงก่อนเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
  • หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำหลาย ๆ ครั้งทันที
  • หากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงก็ควรใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดอย่างเร่งด่วน และใช้ยาแก้แผลไฟไหม้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและผิวหนังไหม้จากการถูกโซดาไฟกัด
  • หรือหากเข้าปาก แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันที


วิธีการใช้โซดาไฟสามารถทำได้ด้วยตนเอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และเป็นตัวเลือกสำหรับการขจัดคราบสกปรกได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจ แต่ควรจะต้องใช้งานอย่างระมัดระวังและรู้วิธีการใช้และปฐมพยาบาลอย่างละเอียด เพื่อเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั่นเอง

>>สามารถอ่านบทความต่าง ๆ จาก มารูโมะ ได้ตามนี้เลย<<